S.Singsaneh

l Home l Articles l Music on Line l Web Board l Guest Book l Catholic Links l นักบุญทั้งหลาย l กุหลาบทิพย์ l Fordec l Contact Us l

การรู้จักพระวาจาของพระเจ้า คือ การรู้จักพระคริสตเจ้า.... ขอให้คริสตชนหยั่งรากลึกลงในความรัก และความรู้ด้านพระคัมภีร์ให้มากยิ่งขึ้น... ข้าพเจ้าอธิษฐานภาวนา ขอให้พระคริสตเจ้าทรงสัมผัสหูของท่าน เพื่อท่านจะสามารถรับฟังพระวาจาของพระองค์ และทรงสัมผัสปากของท่าน เพื่อท่านจะสามารถประกาศความเชื่อเรื่องของพระองค์ และถวายพระสิริแด่พระเจ้าพระบิดา" .... สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2...

วัดคอนเซ็ปชัญ

167 ซ.มิตตคาม ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร. 0-2243-2617, 0-2243-0064 โทรสาร  0-2668-7

 

ประวัติวัดคอนเซ็ปชัญ

หลังจากที่พระสังฆราชหลุยส์ ลาโน ได้รับการอภิเษกที่กรุงศรีอยุธยาในปี 1674 แล้ว ก็ได้เดินทางมาอยู่ที่บางกอก และได้เข้าเฝ้า สมเด็จพระนารายณ์ เพื่อขอพระราชทานที่ดินสำหรับสร้างวัดและโรงพยาบาล พระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งซึ่งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือวัดสมอราย บนที่ดินผืนนี้ท่านได้สร้างวัดหลังหนึ่งเป็นอิฐลาดปูนและตั้งชื่อว่า IIimmaculee conception แปลว่า แม่พระปฏิสนธินิรมล วัดนี้จึงถูกเรียกว่าวัดคอนเซ็ปชัญ นอกจากสร้างวัดแล้วท่านยังได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์ และโรงพยาบาล อีก 2 หลัง สำหรับผู้ป่วยชายหลังหนึ่ง และสำหรับผู้ป่วยหญิงหลังหนึ่ง พร้อมกับสร้างบ้านพักสำหรับคนงานและคริสตังสำรองที่จะมาพัก เรียนคำสอนอีกหลังหนึ่ง

ในปี 1674 เมื่อคุณพ่อชังเดอบัวเดินทางมาถึงสยามได้รับหน้าที่เป็นผู้ช่วยของพระคุณเจ้าลาโนที่วัดคอนเซปชัญ พร้อมกับเรียนภาษาไทยไปด้วย ในปี 1676 พระสังฆราชลาโนก็มอบวัดคอนเซปชัญและคริสตังที่นี่ให้คุณพ่อชังเดอบัวปกครอง ดูแลในฐานะเจ้าอาวาส จนถึงปี 1686 คุณพ่อจึงย้ายไปที่อยู่ที่บ้านเณรอยุธยาคุณพ่อมานึแอลมาเป็นเจ้าอาวาสต่อจากคุณพ่อชังเดอบัวในปี 1686 ในปี 1688 เกิดการปฏิวัติและการเบียดเบียนศาสนา คุณพ่อมานีแอลและบรรดามิชชันนารีส่วนใหญ่ถูกจับขังคุกที่อยุธยา แต่คริสตังที่บางกอกและวัดคอนเซ็ปชัญไม่ได้ถูกเบียดเบียนมากนัก หลังจากที่คุณพ่อมานีแอลจากวัดคอนเซ็ปชัญไปแล้ว

ในป ี 1688 ที่วัดคอนเซ็ปชัญก็ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดที่สามารถมาแพร่ธรรม หรือทำพิธีใดๆในวัดนี้ได้อีกจนถึงปี 1750 นอกจากครูคำสอนซึ่งถูกส่งมาจาก อยุธยามาอยู่ประจำที่วัดนี้เท่านั้น ในปี 1750 คุณพ่อบรีโกต์ซึ่งอยู่ในเขตตะนาวศรี ได้รับมอบหมายให้เดินทางมาอยู่ที่บางกอกเพื่อดูแลคริสตังที่นี่จนถึงปี 1755 คุณพ่อก็ออกจากหน้าที่เจ้าอาวาส วัดคอนเซ็ปชัญ เพื่อไปรับการอภิเษกเป็นพระสังฆราช ในเวลานั้นไม่มีพระสงฆ์องค์ใดสามารถมาอภิบาลสัตบุรุษวัดคอนเซ็ปชัญ ได้มีแต่ครูคำสอนเท่านั้นที่มาอยู่ประจำจนถึงปี 1762 เมื่อคุณพ่อกอรร์เดินทางมาถึงบางกอก ท่านจึงได้รับมอบหมายให้ดูแลคริสตังที่วัดคอนเซปชัญและสามเณราลัยที่อยุธยา หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี 1767 คุณพ่อกอรร์กับพวกสามเณรและคริสตังที่อยุธยาได้ไปลี้ภัยที่เขมร ในปี 1769 คุณพ่อกอรร์กลับจากเขมร รวบรวมคริสตังจากอยุธยาที่หลบภัยมาอยู่ที่บางกอก และขอพระราชทานที่ดินสร้างวัดซางตาครู้ส ในเวลาเดียวกันท่านก็ได้มาดูแลคริสตังที่วัดคอนเซปชัญด้วย

ปี 1785 คุณพ่อลังเยอนัวส์ มิชชันนารีในประเทศเขมร ได้พาคริสตังโปรตุเกสกับชาวเขมรซึ่งเป็นคนรับใช้ของชาวโปรตุเกสมาอยู่ที่วัดคอนเซปชัญ นับตั้งแ ต่นั้นมาวัดนี้จึงถูกเรียกว่าวัดเขมร คริสตังโปรตุเกสเหล่านี้ได้นำพระรูปแม่พระแกะสลักด้วยไม้มาด้วย คริสตังวัดคอนเซปชัญยังเคารพนับถือพระรูปนี้และได้อัญเชิญพระรูปมาแห่ในโอกาสวันฉลองใหญ่ๆ ในเวลานั้นที่บางกอกมีวัดเพียง 2 แห่งเท่านั้นคือวัดซางตาครู้สซึ่งเป็นวัดของชาวโปรตุเกสไทย และวัดคอนเซ็ปชัญซึ่งเป็นวัดของโปรตุเกสเขมร คุณพ่อลังเยอนัวส์ มาเป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดคอนเซ็ปชัญและวัดซางตาครู้สจนถึงปี 1793 เมื่อคุณพ่อลังเยอนัวส์กลับประเทศเขมรแล้ว ก็ไม่มี พระสงฆ์มาอยู่ประจำ พระสงฆ์จากวัดซางตาครู้สจึงรับหน้าที่ผลัดกันมาดูแลวัดคอนเซปชัญจนถึงปี 1836

ปี 1836 คุณพ่อปัลเลอกัวมาเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้สร้างวัดใหม่ และบ้านพักพระสงฆ์ วัดหลังนี้ได้เสกเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 1837 ตัววัดยังอยู่จนถึง ปัจจุบัน แต่หอได้รับการต่อเติมในภายหลัง ส่วนบ้านพักพระสงฆ์ได้ถูกรื้อเพื่อสร้างเป็นโรงเรียน ต่อมาในสมัยคุณพ่อ มาร์แต็ง เป็นเจ้าอาวาสในปี 1859 ท่านได้ปรับปรุงวัดบ้างเล็กน้อย ขยายหน้าต่างและประดับด้วยกระจกสีอันสวยงาม สร้างหอระฆัง และสั่งซื้อระฆัง 3 ใบ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 1885 ก็เริ่มตีเป็นครั้งแรก สร้างโรงเรียนแก่เด็ก ๆ 2 แห่ง ตั้งสมาคมแม่พระไถ่ทาส

ในปี 1943 คุณพ่อมาร์แซล จงสวัสดิ์ อารีอร่าม เป็นเจ้าอาวาส ได้ทำการพัฒนาหมู่บ้านโดยจัดการลาดปูนซีเมนต์หน้าวัดและตามทางที่ผ่านหมู่บ้าน ต่อมาในปี 1959 คุณพ่อวังกาแวร์ มาเป็นเจ้าอาวาส ได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์และโรงเรียนใหม่ เป็นอาคารคอนกรีตใหญ่โต ปี 1965 คุณพ่อศวง ศุระศรางค์ มาเป็นเจ้าอาวาส ได้จัดการต่อเติมอาคารคอนกรีตของคุณพ่อวังกาแวร์ สร้างหอพักและโรงอาหาร ทางด้านการอภิบาลสัตบุรุษ ท่านได้ริเริ่มจัดตั้งกิจการคาทอลิกหลายอย่าง เช่น เครดิตยูเนียนเพื่อช่วยพัฒนาชาวบ้าน คณะวินเซนต์เดอปอล เพื่อช่วยเตือนความศรัทธา การเสียสละและช่วยเหลือคนจน ในสมัยคุณพ่อวิศิษฏ์ หริพงศ์ เป็นเจ้าอาวาส ในปี 1973 ได้สร้างตึก 3 ชั้น ด้านหน้าวัดมีชื่อว่า ตึกสมาคมนักบุญวินเซนต์เดอปอล จัดการซ่อมแซมหลังคาวัดและปรับปรุงตัววัดให้เรียบร้อย ในปี 1974 จัดฉลอง 300 ปีของกลุ่มคริสตังวัดคอนเซปชัญ และบูรณะวัดแรกของพระสังฆราชลาโน ให้ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ ในการฉลอง 300 ปีนี้ คุณพ่อได้กราบทูลเชิญพระบาทสมเด็จ- พระเจ้าอยู่หัวมาเป็นองค์ประธานในพิธีฉลองด้วย นอกจากนี้ยังได้สร้างถ้ำแม่พระแต่ยังไม่ทันเสร็จคุณพ่อก็ต้องเดินทางไปกรุงโรมเพื่อดูงานแพร่ธรรม คุณพ่อวิจิตร ลิขิตธรรม จึงมาเป็นเจ้าอาวาสแทนในปี 1976 ท่านได้สร้างหลังคาบนดาดฟ้าของตึก 3 ชั้นบ้านพ่อและอาคารเรียน ดัดแปลงดาดฟ้าเป็นห้องเรียน ทำให้ตึก 3 ชั้นกลายเป็นตึก 4 ชั้น

นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการสร้างถ้ำแม่พระของคุณพ่อวิศิษฏ์ต่อจนเสร็จ สมัยคุณพ่อสมศักดิ์ ธิราศักดิ์ เป็นเจ้าอาวาสในปี 1979 ในด้านการอภิบาลสัตบุรุษ ได้จัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมกระแสเรียก ฟื้นฟูศูนย์เยาวชน ฟื้นฟูกลุ่มแม่บ้าน ตั้งคณะเทเรเซียน ปรับปรุงและส่งเสริมกิจการพลมารี ในด้านวัตถุได้บูรณะวัดให้เป็นหินล้าง ทั้งภายนอกและภายใน บูรณะสุสาน จัดให้เป็นระเบียบ พร้อมทั้งสร้างซองบรรจุศพ 3 ชั้น สมัยคุณพ่ออนันต์ เอี่ยมมโน เป็นเจ้าอาวาสในปี 1985 ท่านได้รื้อปูนซีเมนต์ทางด้านกำแพงริมหลังคาหลังตัววัดลง และเปลี่ยนเป็นรูปมังกรเล็กๆ สีสดประดับริมหลังคาวัด อย่างมีศิลปะนอกจากนี้คุณพ่อยังมีโครงการหลายอย่าง เช่น เปลี่ยนหลังคาวัดน้อยของท่านลาโน ให้เข้ากับหลังคาวัดหลังปัจจุบัน บูรณะภายในให้สมเป็นพิพิธภัณฑ์วัตถุศักดิ์สิทธิ์โบราณ ปรับปรุงถ้ำแม่พระเมืองลูร์ด ฯลฯ

คุณพ่อวรวุฒิ กิจสกุล (1989-1994) ได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาสคุณพ่อได้พยายามปรับปรุงวิชาการและการบริหารงานโรงเรียนให้ดีขึ้น พร้อมทั้ง ส่งเสริมกิจการคาทอลิกต่างๆของวัดให้เจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ

คุณพ่อไพโรจน์ หอมจินดา เจ้าอาวาส (1994-1998)

คุณพ่อบัณฑิตย์ ประจงกิจ (1999 – 2004)

คุณพ่อกิตติศักดิ์ กาญจนธานินทร์ (2004 - ปัจจุบัน) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

ตารางเวลาพิธีกรรม

พิธีกรรม

วัน/เดือน

เวลา

ภาษา

หมายเหตุ

มิสซาเย็น (วันธรรมดา)

จันทร์-ศุกร์

19.00 น.

ไทย

 

มิสซาเย็น (วันธรรมดา)

เสาร์

17.30 น.

ไทย

เป็นมิสซาของวันอาทิตย์

พิธีนพวาร (วันธรรมดา)

เสาร์

17.30 น.

ไทย

 

มิสซาศุกร์ต้นเดือน

ศุกร์

19.00 น.

ไทย

หลังมิสซาอวยพรศีลมหาสนิท

พิธีแห่แม่พระ

วันเสาร์แรกของทุกเดือน
หลังมิสซา

 17.30 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 1 (วันอาทิตย์)

 

06.00 น.

ไทย

เพลงภาษาลาติน

มิสซาที่ 2 (วันอาทิตย์)

 

08.30 น.

 ไทย

 

มิสซาที่ 3 (วันอาทิตย์)

 

17.00 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 4 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

มิสซาที่ 5 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

มิสซาที่ 6 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

การเดินรูป 14 ภาคในเทศกาลมหาพรต

ทุกวันศุกร์ก่อนมิสซา

19.00
 18.30 น.

ไทย

ทุกวันอาทิตย์ก่อนมิสซา 8.30 น.(เริ่มเดินรูป 8.00น.)

วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์

 

19.00 น.

ไทย

 

วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์

 

15.00 น.

ไทย

พิธีถอดพระรูป 18.00 น.

วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์

 

19.00 น.

 ไทย

 

มิสซาวันคริสตมาส (กลางคืน)

24 ธันวาคม

22.00 น.

ไทย

 

มิสซาวันคริสตมาส (ตอนเช้า)

25 ธันวาคม

08.30 น.

 ไทย

 

มิสซาส่งท้ายปีเก่า

31 ธันวาคม

19.00 น.

ไทย

 

มิสซาตอนรับปีใหม่

1 มกราคม

09.00 น.

 ไทย

 แห่แม่พระ

ฉลองวัด/ฉลองแม่พระไถ่ทาสทุก 24 ก.ย.

8 ธันวาคม

18.00 น.

ไทย

 

เสกสุสาน

วันพุธรับเถ้า

18.00 น.

 ไทย

 

การเดินทาง

ทางบก

 สาย

หมายเหตุ

  รถโดยสารประจำทาง (สาย)

  3,9,16,32,33,49,64,65,18,28 และ 108

 

  รถโดยสารปรับอากาศ (สาย)

  ปอ5, ปอ6 และ ปอพ.4

 

 ทางน้ำ

 สาย

หมายเหตุ

  เรือ (สาย)

 

 

แผนที่

 

l Home l Articles l Music on Line l Web Board l Guest Book l Catholic Links l นักบุญทั้งหลาย l กุหลาบทิพย์ l Fordec l Contact Us l
@2005 S.S. Graphic Design
Free Web Hosting