S.Singsaneh

l Home l Articles l Music on Line l Web Board l Guest Book l Catholic Links l นักบุญทั้งหลาย l กุหลาบทิพย์ l Fordec l Contact Us l

การรู้จักพระวาจาของพระเจ้า คือ การรู้จักพระคริสตเจ้า.... ขอให้คริสตชนหยั่งรากลึกลงในความรัก และความรู้ด้านพระคัมภีร์ให้มากยิ่งขึ้น... ข้าพเจ้าอธิษฐานภาวนา ขอให้พระคริสตเจ้าทรงสัมผัสหูของท่าน เพื่อท่านจะสามารถรับฟังพระวาจาของพระองค์ และทรงสัมผัสปากของท่าน เพื่อท่านจะสามารถประกาศความเชื่อเรื่องของพระองค์ และถวายพระสิริแด่พระเจ้าพระบิดา" .... สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2...

วัดนักบุญหลุยส์มารี (วัดบางแค)
30/37 ม.3 หมู่บ้านเศรษฐกิจ ถ.เพชรเกษม แขวงบางไผ่ เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
โทร. 0-2421-2760, 0-2444-2188 โทรสาร 0-2806-9779

 

วัดนักบุญหลุยส์มารีย์ บางแค

เนื่องจากหมู่บ้านเศรษฐกิจเป็นหมู่บ้านจัดสรรที่ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี 1961 ผู้จัดสรรได้มอบที่ดินส่วนหนึ่งให้แก่ คณะภราดา เซนต์คาเบรียล เพื่อสร้างโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ในระยะเริ่มแรกคริสตังที่ย้ายมาอยู่ในหมู่บ้านนี้ ได้มาเข้าวัดเพื่อร่วมพิธีมิสซาที่โรงเรียนอัสสัมชัญแห่งนี้โดยใช้ห้องพักของบราเดอร์เป็นวัดชั่วคราว ซึ่งมีพระสงฆ์จากอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ มาทำมิสซาให้ทุกวัน แต่ไม่ได้พักอยู่ประจำ ในระยะแรกๆ มีสัตบุรุษมาร่วมมิสซาในวันอาทิตย์ประมาณ 10 กว่าคน ต่อมาเนื่องจากบริเวณนี้เป็นที่จัดสรร จึงมีคนย้ายเข้ามา อยู่กันอย่างรวดเร็ว และเนื่องจากมีโรงเรียนคาทอลิกอยู่ถึง 2 โรงเรียน จึงทำให้ทั้งนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชาวบ้านอื่นๆ ที่เป็นคริสตัง เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนมากจะเป็นคริสตังที่ย้ายมาจากวัดต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ทำให้วัดชั่วคราวไม่สามารถ บรรจุคนได้หมด มีผู้มาฟังมิสซาจนเต็มวัด และบางส่วนต้องอยู่ภายนอกวัด เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปี 1968 ซึ่งในเวลานั้นมีครอบครัวคริสตังกว่า 20 ครอบครัวประมาณ 100 กว่าคน ต้องแยกย้ายกันไปเข้าวัดที่อยู่ใกล้เคียง เช่น วัดซางตาครู้ส วัดบางสะแก วัดบางเชือกหนัง เป็นต้น

โดยเหตุจำเป็นดังกล่าวข้างต้น ฝ่ายโรงเรียน ฝ่ายพระสงฆ์ของมิสซัง และฝ่ายสัตบุรุษ จึงได้มีการประชุมปรึกษาหารือกัน เพื่อขออนุญาตให้สร้างวัดน้อย ได้ตามหนังสืออนุญาตลงวันที่ 11 มีนาคม 1969 โดยมีพระอัครสังฆราช ยวง นิตโย เป็นผู้ลงนามอนุญาต ฝ่ายโรงเรียนอัสสัมชัญ คือ บราเดอร์ปอล อารมณ์ พูลโภคผล ซึ่งในเวลานั้นเป็นอธิการโรงเรียนอัสสัมชัญอาชีวศึกษา เป็นผู้ติดต่อขออนุญาตเรื่องที่ดินที่จะสร้างวัดใหม่โดยตลอด และได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างได้ ฝ่ายสัตบุรุษได้ตั้งกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง มีจำนวน 12 คน โดยมี นายพูน ศรีพิจารณ์ และนายยรรยง วงษ์ยรรยง เป็นประธาน และรองประธาน เพื่อดำเนินการจัดหาทุนสร้างวัดมาสมทบกับทางโรงเรียน ผลแห่งความร่วมมือของทุกฝ่ายดังกล่าวแล้วนี้ ทำให้ได้จัดงานวางศิลาฤกษ์สร้างวัดใหม่ขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 1969 โดยเชิญพระอัครสังฆราช ยวง นิตโย มาเป็นประธานในพิธี นอกจากนี้กรรมการชุดเดียวกันนี้ยังได้ดำเนินการออกแบบ และควบคุมการก่อสร้าง โดยตลอดจนวัดใหม่ เสร็จเรียบร้อย ทำพิธีเสกและเปิดวัดใหม่เมื่อวันที่ 28 เมษายน 1970 วัดนี้มีลักษณะแบบทรงไทย เป็นโครงเหล็กหมดทั้งหลัง ผนังเป็นอิฐก่อถือปูนหลังคามุงกระเบื้องลอน ขนาดกว้าง 18 เมตร ยาว 25 เมตร สูง 10.50 เมตร สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้นห้าแสนบาทถ้วน จนถึงปี 2003 วัดนี้มีสัตบุรุษ 155 ครอบครัว จำนวน 700 คน มีกลุ่มกิจกรรมคาทอลิกต่างๆ ของวัด คือ คณะกรรมการสภาภิบาล, กลุ่มเยาวชน, กลุ่มผู้สูงอายุ, พลมารีย์, กลุ่มพิธีกรรมและส่งเสริมความศรัทธา โดยมี คุณพ่อประชาชาติ ปรีชาวุฒิ เป็นเจ้าอาวาสคนปัจจุบัน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งปี 2002 คุณพ่อได้ปรับปรุงสถานที่ของวัดเพื่อใช้เป็นสถานที่เข้าเงียบ หรือจัดสัมมนาของกิจกรรมต่างๆ ได้ปรับปรุงห้องต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงสำนักงานของวัดขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยได้รับความร่วมมือจากวัดต่างๆ ในเขต 3 ด้วยดี วัดนี้จึงเป็นที่รู้จัก กันดีว่า เป็นวัดที่มีสถานที่เหมาุะสมในการจัดกิจกรรมต่างๆ และมีผู้ติดต่อขอใช้บริการอยู่เป็นประจำ

ชีวประวัตินักบุญหลุยส์มารี เดอ มงฟอร์ต

หลุยส์ มารี กรีญอง (Louis Marie Grignion) เกิดที่บ้างมงฟอร์ต ในแคว้นบริททานี ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ.1673 แต่ท่านกลับใช้ ชีวิตในเด็กที่อิฟฟังดิก เมืองเล็กๆ ห่างออกไปสองสามไมล์ เมื่ออายุ 102 ปี ท่านถูกส่งเข้าวิทยาลัยนักบุญโทมาส แบคเก็ตของคณะเยซูอิตทีเ่กมืองแรนน์ ท่านเรียน ที่นั่นเป็นเวลา 8 ปี ท่านเกิดความมั่นใจว่าตนได้รับกระแสเรียกให้เป็นพระสงฆ์ ขณะเมื่อท่านภาวนาต่ออหน้ารูปแม่พระในวัดของคณะคาร์เมไลท์ที่เมืองแรนน์ ท่านได้มีโอกาสไปศึกษาต่อที่กรุงปารีสโดยมิได้นึกฝัน เวลานั้นท่านอายุ 20 ปี ท่านเดินด้วยเท้าตลอดทาง 200 ไมล์สู่เมืองหลวง แสดงว่าท่านถึงความยากจนโดยสมัครใจ ท่านแจกจ่ายเงินทั้งหมดแก่คนจนแล้วคุกเข่ากลางถนน ปฏิญาณว่าจะไม่ยอมรับส่ิงใดรวมทั้งเสื้อผ้าชุดใหม่ไว้เป็นสมบัติของคนเลย แต่จะมอบทุกส่ิงทุกอย่างไว้ภายใต้พระญาณสอดส่องของพระบิดาเจ้าสวรรค์ ท่านเริ่มกาครศึกษาที่วิทยาล้ัยซูลปิส และมหาวิทยาลัยซอร์บอน ท่านเป็นผู้โดดเด่นด้วยความสามารถสติปัญญา และด้วยชีวิตศักดิิ์สิทธิ์ของท่าน ท่านได้รับศีลบรรพชาเป็นพระสงฆ ์ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ.1700 ท่านปรารถนาอย่างยิ่งที่จะไปเป็นธรรมทูตทำงานในประเทศมิสซัง เป็นต้นในแคนาดา ท่านเดินด้วยเท้านับพันไมล์ไปยังกรุงโรม เมื่อท่านไปถังท่านก็ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 11 เป็นการส่วนตัว เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาทรงทราบถึงปัญหาและความยากลำบากต่างๆ ที่เกิดขึ้น พระองค์ก็ได้ให้คำแนะนำอันแน่นอนแก่ท่านนักบุญว่า ให้ท่านถือตามกระแสเรียก แห่งการแพร่พระวรสารในประเทศฝรั่งเศส และพระองค์ยังแต่งตั้งท่านให้เป็นผู้ทำงานด้านแพร่ธรรมโดยตรง งานที่พระองค์มอบหมายใหเ้ป็ฯพิเศษได้แก่ สอนคำสอนเด็กๆ สอนพวกที่มีความเชื่อน้อยและเป็นคนยากจนกระตุ้นเตือนคริสตชนให้หใมั่นรื้อฟื้นคำสัญญาศีลล้างบาป แต่ทั้งนี้งานทุกย่อาง้อยู่ภายใต้การแนะนำของประมุขพระศาสนจักรประจำท้องถ่ิน หรือสังฆมณฑล ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นธรรมทูตแพร่ธรรมของพระสันตะปาปา ท่านได้ใช้เวลา 16 ปี นับแต่วันบวชเป็น พระสงฆ์ของท่านจวบจนวันสุดท้ายแ่หงชีวิตตระเวนไปตามวัดต่างๆ ทั่วภาคตะวันตกของฝรั่งเศสเพื่อฟ้ืนฟูชีวิตคริสตชนให้กลับกระตืนรือร้นเสียใหม่ ท่าน เทศน์สอน ช่วยคนยากจน ช่วยจัดตั้งแท่นแม่พระ รื้อฟ้ื้นกลุ่มคริสตชนละแวกต่างๆ ให้วัดมีชีวิตใหม่ รวมทั้งจัดตั้งโรงเรียน ให้การศึกษากับเด็ก ด้วยคติประจำในว่า “พระเจ้าเท่านั้น” (God Alone) บ่ายวันที่ 28 เมษายน ค.ศ.1716 นั้นเอง ท่านมีอาการหนัก ท่านเฝ้าดูแต่กางเขนและรูปแม่พระในมือ พลางกล่าวว่า “(ปีศาจเอ๋ย) เจ้าโจมตีข้าฯ โดยไร้ประโยชน์ ข้าฯ อยู่ระหว่างพระเยซูและพระแม่มารีอา ข้าฯ ได้ทำหน้าที่ของข้าฯ ครบถ้วนแล้ว ทุกอย่างเสร็จส้ินแล้ว ข้าฯ จะไม่มีวันทำบาปอีกเลย” แล้วท่านก็สิ้นใจ อย่างสงบ

คุณพ่อบุญเสริม เนื่องพลี (1989-1993)เป็นเจ้าอาวาสซึ่งได้รับแต่งตั้งตั้งแต่ปี 1989 คุณพ่อได้ปรับปรุงสถานที่ของวัดเพื่อใช้เป็นสถานที่เข้าเงียบ หรือจัดสัมมนาของกิจกรรมต่างๆ ได้ปรับปรุงห้องต่างๆที่มี จัดหาซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น หมอน ผ้าห่มเสื่อ เป็นต้น โดยได้รับความร่วมมือจากวัดต่างๆในเขต 3 ด้วยดี วัดนี้จึงเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นวัดที่มีสถานที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมต่างๆ

คุณพ่อสมโภชน์ พูลโภคผล (1993-1998) เป็นเจ้าอาวาส

คุณพ่อบัญชา ศรีประมง (1999-2002) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ปัจจบันช่วยงาน COERR และพักประจำที่อารามคณะภคินีพระหฤทัยฯ

คุณพ่อประชาชาติ ปรีชาวุฒิ (2002- 2004 ) เป็นเจ้าอาวาส

คุณพ่อประสาร คูรัตนสุวรรณ ( 10 พฤษภาคม 2004 - ปัจจุบัน ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

ตารางมิสซา

วันจันทร์ - ศุกร์ 19.00 น. (1 ทุ่ม) พิธิมิสซาฯ (สวยสายประคำ 18.40 น.)
วันเสาร์ 18.00 น. (6 โมงเย็น) พิธีนพวาร และพิธีมิสซาฯ
วันอาทิตย์ 06.30 น. พิธีมิสซาฯ
09.00 น. พิธิมิสซาฯ (สวดสายประคำ 08.30 น.)
วันอาทิตย์ สัปดาห์แรก กลุ่มครอบครัว
สัปดาห์ที่สอง กลุ่มสภาอภิบาล
สัปดาห์ที่สาม กลุ่มเยาวชน
สัปดาห์ที่สี่ กลุ่มผู้สูงอายุ
วันเสาร์ต้นเดือน หลังพิธีฯ มีการสวดภาวนาเพื่อสันติภาพ

 

ตารางเวลาพิธีกรรม

พิธีกรรม

วัน/เดือน

เวลา

ภาษา

หมายเหตุ

มิสซาเช้า (วันธรรมดา)

จันทร์-ศุกร์

07.00 น.

ไทย

*ติดต่อล่วงหน้า

มิสซาเย็น (วันธรรมดา)

 

 

 

 

พิธีนพวาร (วันธรรมดา)

เสาร์

17.30 น.

ไทย

 

มิสซาศุกร์ต้นเดือน

ศุกร์

19.00 น.

ไทย

 

พิธีแห่แม่พระ

 

 

 

*ตามโอกาส

มิสซาที่ 1 (วันอาทิตย์)

 

10.30 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 2 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

มิสซาที่ 3 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

มิสซาที่ 4 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

มิสซาที่ 5 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

มิสซาที่ 6 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

การเดินรูป 14 ภาคในเทศกาลมหาพรต

อาทิตย์

10.00 น.

ไทย

 

วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์

 

19.00 น.

 

 

วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์

 

19.00 น.

 

15.00 น.เดินรูป

วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์

 

19.00 น.

 

 

มิสซาวันคริสตมาส (กลางคืน)

24 ธันวาคม

19.00 น.

 

 

มิสซาวันคริสตมาส (ตอนเช้า)

25 ธันวาคม

10.00 น.

 

 

มิสซาส่งท้ายปีเก่า

31 ธันวาคม

19.00 น.

 

 

มิสซาตอนรับปีใหม่

1 มกราคม

10.00 น.

 

 

ฉลองวัด

อาทิตย์

10.00 น.

 

 

เสกสุสาน

 

 

 

 

ล้างบาปเด็ก

 

10.30 น.

 

 *ติดต่อล่วงหน้า

การเดินทาง

ทางบก

 สาย

หมายเหตุ

  รถโดยสารประจำทาง (สาย)

84,136,164

ผ่านถนนเพชรเกษม ต่อรถทางเข้าหมู่บ้านเศรษฐกิจ

  รถโดยสารปรับอากาศ (สาย)

ปอพ.12 , ปอ.84

 

 ทางน้ำ

 สาย

หมายเหตุ

  เรือ (สาย)

 

 

 

l Home l Articles l Music on Line l Web Board l Guest Book l Catholic Links l นักบุญทั้งหลาย l กุหลาบทิพย์ l Fordec l Contact Us l
@2005 S.S. Graphic Design
Free Web Hosting