S.Singsaneh

l Home l Articles l Music on Line l Web Board l Guest Book l Catholic Links l นักบุญทั้งหลาย l กุหลาบทิพย์ l Fordec l Contact Us l

การรู้จักพระวาจาของพระเจ้า คือ การรู้จักพระคริสตเจ้า.... ขอให้คริสตชนหยั่งรากลึกลงในความรัก และความรู้ด้านพระคัมภีร์ให้มากยิ่งขึ้น... ข้าพเจ้าอธิษฐานภาวนา ขอให้พระคริสตเจ้าทรงสัมผัสหูของท่าน เพื่อท่านจะสามารถรับฟังพระวาจาของพระองค์ และทรงสัมผัสปากของท่าน เพื่อท่านจะสามารถประกาศความเชื่อเรื่องของพระองค์ และถวายพระสิริแด่พระเจ้าพระบิดา" .... สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2...

วัดซางตาครู้ส (วัดกุฎีจีน)
112 ซ.กุฎีจีน ถ.เทศบาลสาย 1 แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600
โทร. 0-2466-0347, 0-2472-0153-4 โทรสาร 0-2465-0930

 

วัดซางตาครู้ส (วัดกุฎีจีน)

ชาวโปรตุเกสมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานก่อนที่นักบวชคณะต่างๆ ได้แก่ คณะโดมินิกัน และคณะอื่นๆ เดินทางเข้า มา และพระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสเดินทางเข้ามาภายหลัง บรรดามิชชันนารีของคณะนักบวชต่างๆ เหล่านั้นส่วนใหญ่ เป็นชาวโปรตุเกส

เมื่อทหารพม่าบุกเข้าทำลายกรุงศรีอยุธยาในปี ค.ศ. 1767 คริสตังที่กรุงศรีอยุธยาต่างก็หลบหนีกระจัดกระจายไป คุณพ่อกอร์และ คริสตังกลุ่มหนึ่งได้หนีไปหลบภัยในประเทศเขมร เมื่อพระเจ้าตากสินกู้อิสระภาพจากพม่าได้สำเร็จและได้ทำพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว ในปีค.ศ.1769 คุณพ่อกอร์เห็นว่าบ้านเมืองมีความสงบสุขแล้ว จึงเดินทางมาอยู่ที่บางกอกพร้อมด้วยกลุ่มคริสตังที่หลบหนีไป และได้พยายามรวบรวมคริสตังที่กระจัดกระจายอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหลานของชาวโปรตุเกส ท่านได้รับการต้อนรับอย่างดีจากพระเจ้า กรุงธนบุรี

นอกจากนี้พระองค์ยังได้พระราชทานเงินและเรือลำหนึ่งแก่ท่านและทรงสัญญาว่าจะพระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งสำหรับปลูกสร้างวัด ที่สุดพระเจ้า-กรุงธนบุรีก็ได้พระราชทานที่ดินให้แปลงหนึ่ง คุณพ่อกอร์ตั้งชื่อที่ดินผืนนี้ว่า "ค่ายซางตาครู้ส" เพื่อระลึกถึงวันที่ 14 กันยายน 1769 อันเป็นวันที่ได้รับพระราชทาน ที่ดิน ซึ่งตรงกับวันฉลองเทิดทูนไม้กางเขนและในวันที่ 25 พฤษภาคม 1770 ท่านก็ได้จัดสร้างวัดน้อยชั่วคราวหลังหนึ่งบนที่ดินผืนนี้ พร้อมกับตั้งชื่อวัดว่า "วัดซางตาครู้ส" ในเวลานั้นสัตบุรุษที่นี่ส่วนมากเป็นชาวโปรตุเกส

ในปี ค.ศ. 1773 คุณพ่อกอร์ได้ถึงแก่มรณภาพลง ขณะนั้นมิสซังสยามมีมิชชันนารีเหลืออยู่เพียง 3 องค์เท่านั้นคือ พระคุณเจ้าเลอบ็อง, คุณพ่อการ์โนลต์ และคุณพ่อกูเด ทั้งสามท่านได้ผลัดกันมาปกครองดูแลวัดซางตาครู้สตั้งแต่ปี ค.ศ. 1773-1779 ปี ค.ศ. 1779 พระเจ้าตากสินได้เนรเทศมิชชันนารีออกจากประเทศสยาม ในเวลานั้นไม่มีมิชชันนารีเหลืออยู่ในประเทศสยามแม้แต่องค์เดียว ต่อมาในปี ค.ศ. 1780 พระสังฆราชเลอบ็องได้ถึงแก่มรณภาพลงที่เมืองกัว คุณพ่อกูเดซึ่งไป แพร่ธรรมที่เกาะถลาง (ภูเก็ต) และตะกั่วป่าตะกั่วทุ่ง ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระสังฆราชประมุขมิสซังสยามสืบต่อมาในปี ค.ศ. 1782

ในปี ค.ศ. 1782 พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงทราบว่าพระคุณเจ้ากูเดอยู่ที่ตะกั่วทุ่ง ก็มีรับสั่งให้เชิญท่าน กลับมายังกรุงเทพฯ โดยเร็วเพื่อปกครองบรรดาคริสตังวัด ซางตาครู้ส แต่พระคุณเจ้ากูเดก็ยังคงอยู่ภูเก็ตต่อไป เนื่องจากที่นั่นมีคนขอกลับใจเป็นอันมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงส่งทูตไปเจรจากับเจ้าเมืองมาเก๊า เพื่อขอมิชชันนารีโปรตุเกสมาปกครองคริสตังที่บางกอก ในวันที่ 21 มีนาคม 1784 มีคุณพ่อ ฟรังซิสโก คณะดอมินิกันองค์หนึ่งเป็นชาวโปรตุเกสเดินทางมาถึงบางกอก เป็นเหตุให้คริสตังของ "ค่ายแม่พระลูกประคำ" ซึ่งหวังว่าจะมีพระสงฆ์ชาวโปรตุเกสมาปกครองพวกเขาเข้ายุคริสตังวัด ซางตาครู้ส มิให้นบนอบแก่พระสังฆราชหรือพระสงฆ์ชาวฝรั่งเศสต่อไป

ในวันที่ 4 เมษายน 1784 พระสังฆราชกูเดได้เดินทางมาถึงบางกอก และแสดงพระสมณสาสน์แต่งตั้งท่านเป็นประมุขมิสซัง คริสตังวัดซางตาครู้สส่วนมากยินดีต้อนรับเจ้าอาวาสเก่าของเขาคือคุณพ่อกูเด แต่มีบางคนกลับหัวดื้อต่อต้านท่านอย่างเดียวกับที่คริสตังค่ายแม่พระลูกประคำทำ จึงเกิดการแตกแยกกันขึ้น เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คุณพ่อฟรังซิสโกจึงเดินทางกลับมาเก๊าในปี ค.ศ. 1785 หลังจากนั้นแม้จะมีผู้แทนไปมาเก๊า หลายครั้งก็ไม่มีพระสงฆ์ชาวโปรตุเกสมาบางกอก อีกเลย ในที่สุดสถานการณ์ก็คลี่คลายเป็นปกติ เมื่อพระสังฆราชกูเดถึงแก่มรณภาพแล้ว

ในปี ค.ศ. 1785 คุณพ่อวิลล์แม็งได้เป็นผู้ดูแลวัดซางตาครู้สในเวลาต่อมาจนถึง ปี ค.ศ. 1788 พระสังฆราชการ์โนลต์ได้มอบหมายให้คุณพ่อฟลอรังส์ ซึ่งดูแลวัดจันทบุรีอยู่เป็นผู้มาปกครองดูแลคริสตังที่วัดซางตาครู้สด้วย

ในปี ค.ศ. 1794พระคุณเจ้าการ์โนลต์ได้เดินทางมาอยู่ที่กรุงเทพฯ เป็นการถาวร และรวบรวมเณรทุกคนทั้งใหญ่และเล็กให้มาอยู่ในสถานอบรมแห่งเดียวกันคือที่บ้านเณรซางตาครู้ส ทั้งยังเป็นเจ้าอาวาสวัดซางตาครู้สและอธิการบ้านเณรพร้อมกับดูแลบริหารงานทั่วไปของมิสซัง นอกจากนี้ ในปี ค.ศ. 1794 ท่านยังได้ตั้ง โรงพิมพ์ของมิสซังขึ้นที่นี่โดยย้ายมาจากปีนัง และได้พิมพ์หนังสือคำสอนคริสตังขึ้นในปี ค.ศ. 1796 ต่อมาโรงพิมพ์แห่งนี้ได้ย้ายไปตั้งที่อัสสัมชัญ พระคุณเจ้าการ์โนลต์และคุณพ่อฟลอรังส์ช่วยกันดูแลปกครองวัดซางตาครู้สจนถึงปี ค.ศ. 1801 คุณพ่อฟลอรังส์ก็เป็นเจ้าอาวาสวัดซางตาครู้สแต่เพียงองค์เดียวจนถึงปี ค.ศ. 1810 ท่านดูแลทั้งวัดซางตาครู้สและวัดจันทบุรี และในระหว่างที่ไปดูแลวัดที่จันทบุรีก็ได้มีพ่อปลัดของท่านช่วยดูแลรักษาการณ์ที่ซางตาครู้ส คือ คุณพ่อราโบ, คุณพ่อปาสกัล, คุณพ่อเยเรมีอัส

เมื่อพระคุณเจ้าการ์โนลต์ถึงแก่มรณภาพในปี ค.ศ. 1811 คุณพ่อฟลอรังส์ก็ได้รับการอภิเษกเป็นพระสังฆราชสืบตำแหน่งต่อจากท่านการ์โนลต์

คุณพ่อเยรีมีอัส(ค.ศ. 1811-1813) รับหน้าที่เจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดซางตาครู้ส

คุณพ่ออันเดร ตู๊ (1814-1819)

คุณพ่อรอดริเกส( 1819-1823)

คุณพ่อกราซีอาโน (1823-1834 )

ในปี ค.ศ. 1834 พระสังฆราชกูรเวอซีได้มอบหมายให้คุณพ่อปัลเลอกัวเป็นผู้ดำเนินการสร้างวัดใหม่หลังที่สองที่ซางตาครู้ส และได้ทำพิธีเสกในวันที่ 1 กันยายน 1835 โดยพระสังฆราชกูรเวอซี

ปี ค.ศ. 1913 ในสมัยที่คุณพ่อคูเลียลโม กิ๊น ดาครู้ส เป็นเจ้าอาวาสวัดซางตาครู้ส ท่านได้รื้อวัดเก่าซึ่งกำลังจะพัง และเริ่มสร้างวัดใหม่ เสกศิลาฤกษ์ในวันที่ 8 เมษายน 1913 และในปี ค.ศ. 1916 วัดใหม่ก็เสร็จเป็นวัดที่สวยงามและแข็งแรง ทำการเสกอย่างสง่าในวันที่ 17 กันยายน 1916 วัดหลังนี้นับเป็นหลังที่สาม ต่อจากนั้น ท่านได้จัดซื้อรูป 14 ภาค สำหรับพิธีเดินรูป เป็นรูปที่สวยงามเป็นพิเศษประกอบด้วยกระจกสีต่างๆ และซื้อระฆัง 16 ใบ พร้อมทั้งหีบเพลงใหญ่

นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์, ร.ร. หญิง มอบให้ซิสเตอร์คณะเซนต์ปอล เดอ ชารตร์ ดูแล ในวันที่ 16 มกราคม 1949 สัตบุรุษได้จัดฉลองวัดสมโภชแห่งการบวชเป็นพระสงฆ์ และสุวรรณสมโภชแห่งการเป็นเจ้าอาวาสวัดซางตาครู้ส และคณะสัตบุรุษก็ได้ถือโอกาสนี้จัดสร้างอนุสาวรีย์เป็นเกียรติแด่ท่าน ประดิษฐานอยู่บริเวณบ้านพักพระสงฆ์ ท่านถึงแก่มรณภาพในปี ค.ศ. 1955 ที่วัดซางตาครู้สและศพของท่านก็ถูกฝังอยู่ที่วัดนี้ซึ่งเป็นวัดที่ท่านสร้างเอง ต่อมาในสมัยคุณพ่ออังแซลม์ เสงี่ยม ร่วมสมุห์ เป็นเจ้าอาวาส ได้จัดตั้งโรงเรียนของวัดขึ้นมาในปี ค.ศ. 1954 โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนซางตาครู้สศึกษา" สอนตั้งแต่ชั้น ป.1-ป.4 ภายหลังเมื่อมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้นก็ต้องขยายอาคารเรียนอีกหลายครั้ง ในวันท ี่ 13 พฤศจิกายน 1966 คุณพ่ออัลแซมม์ได้จัดงานฉลองวัดหลังที่สาม (หลังปัจจุบัน) ครบรอบ 50 ปี

วัดซางตาครู้สมีพระสงฆ์ M.E.P. และพระสงฆ์ไทยผลัดกันปกครองดูแลเรื่อยมา ท่านเหล่านั้นได้สร้างความเจริญและดูแลเอาใจใส่สัตบุรุษวัดซางตาครู้ส เป็นอย่างดีเสมอมาทั้งทางด้านวัตถุและด้านวิญญาณ

คุณพ่อสมศักดิ์ ธิราศักดิ์ี(1994 – 1998) เป็นเจ้าอาวาสวัด

คุณพ่อวิจิตร ลิขิตธรรม (1999 –2004 ) เป็นเจ้าอาวาสวัด

คุณพ่อสุทศ ประมวลพร้อม ( 10 พฤษภาคม 2004 - ปัจจุบัน ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดองค์ปัจจุบัน

 

ตารางเวลาพิธีกรรม

พิธีกรรม

วัน/เดือน

เวลา

ภาษา

หมายเหตุ

มิสซาเช้า (วันธรรมดา)

จันทร์-ศุกร์

06.00 น.

ไทย

 

มิสซาเย็น (วันธรรมดา)

จันทร์-เสาร์

19.00 น.

ไทย

 

พิธีนพวาร (วันธรรมดา)

เสาร์

19.00 น.

ไทย

 

มิสซาศุกร์ต้นเดือน

ศุกร์

06.00, 19.00น.

ไทย

มิสซาของนักเรียน 08.00 น.

พิธีแห่แม่พระ

เสาร์

19.00 น.

ไทย

ทุกวันเสาร์สิ้นเดือน

มิสซาที่ 1 (วันอาทิตย์)

 

06.00 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 2 (วันอาทิตย์)

 

08.30 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 3 (วันอาทิตย์)

 

19.00 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 4 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

มิสซาที่ 5 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

มิสซาที่ 6 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

การเดินรูป 14 ภาคในเทศกาลมหาพรต

ศุกร์/อาทิตย์

18.30 น.,17.30 น.

ไทย

ก่อนมิสซาปรกติ

วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์

 

19.00 น.

ไทย

หลังมิสซาเฝ้าศัลเที่ยงคืน

วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์

 

15.00 น.

ไทย

19.00 น. เดินรูปและกอดพระ

วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์

 

19.00 น.

ไทย

 

มิสซาวันคริสตมาส (กลางคืน)

24 ธันวาคม

20.00 น.

ไทย

 

มิสซาวันคริสตมาส (ตอนเช้า)

25 ธันวาคม

06.30, 08.30 น.

ไทย

 

มิสซาส่งท้ายปีเก่า

31 ธันวาคม

19.00 น.

ไทย

 

มิสซาตอนรับปีใหม่

1 มกราคม

08.30 น.

ไทย

 

ฉลองวัด

17 กันยายน

10.30 น.

ไทย

ประมาณอาทิตย์กลางเดือนกันยายน

เสกสุสาน

 

 

 

 

การเดินทาง

ทางบก

 สาย

หมายเหตุ

รถโดยสารประจำทาง (สาย)

 

 

รถโดยสารปรับอากาศ (สาย)

 

 

 ทางน้ำ

 สาย

หมายเหตุ

เรือ (สาย)

 

 

 

l Home l Articles l Music on Line l Web Board l Guest Book l Catholic Links l นักบุญทั้งหลาย l กุหลาบทิพย์ l Fordec l Contact Us l
@2005 S.S. Graphic Design
Free Web Hosting