S.Singsaneh

l Home l Articles l Music on Line l Web Board l Guest Book l Catholic Links l นักบุญทั้งหลาย l กุหลาบทิพย์ l Fordec l Contact Us l

การรู้จักพระวาจาของพระเจ้า คือ การรู้จักพระคริสตเจ้า.... ขอให้คริสตชนหยั่งรากลึกลงในความรัก และความรู้ด้านพระคัมภีร์ให้มากยิ่งขึ้น... ข้าพเจ้าอธิษฐานภาวนา ขอให้พระคริสตเจ้าทรงสัมผัสหูของท่าน เพื่อท่านจะสามารถรับฟังพระวาจาของพระองค์ และทรงสัมผัสปากของท่าน เพื่อท่านจะสามารถประกาศความเชื่อเรื่องของพระองค์ และถวายพระสิริแด่พระเจ้าพระบิดา" .... สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2...

วัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์)

1318 ซ.วานิช 2 ถ.โยธา แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ 10100
โทร. 0-2266-4849, 0-2236-2727 โทรสาร  0-2639-6884

 

ประวัติวัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์)

เมื่อทหารพม่าบุกเข้าทำลายกรุงศรีอยุธยาในปี 1767 คริสตังโปรตุเกสต่างก็พากันหลบหนีไปหาที่หลบซ่อนในที่ต่างๆ พวกหนึ่ง ไปอยู่วัดซางตาครู้สกับคุณพ่อกอรร์พระสงฆ์ชาวฝรั่งเศส แต่มีพวกหนึ่งไม่ยอมรับมิชชันนารีฝรั่งเศส พวกเขายอมรับแต่พวกพระสงฆ์ชาวโปรตุเกส จึงแยกไปอยู่ในที่ดินว่างเปล่าซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดกาลหว่าร์ในปัจจุบัน ที่ที่พวกเขาอยู่นี้มีชื่อว่า ค่ายแม่พระลูกประคำ ตามชื่อรูปแม่พระลูกประคำที่พวกเขานำมาจากอยุธยา คริสตังที่อาศัยอยู่ในค่ายนี้ยังไม่มีวัด ทั้งยังไม่มีพระสงฆ์ชาวโปรตุเกสมาปกครอง พวกเขา จึงไปร่วมพิธีทางศาสนาที่วัดซางตาครู้ส ปี 1786 พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินที่พวกเขาอาศัยอยู่นั้น สำหรับสร้างวัด และในปี 1787 วัดก็สร้างเสร็จ เป็นวัดแบบเรียบง่าย สร้างด้วยไม้ ยกพื้นสูง เพราะที่ดินแปลงนี้เคยถูกน้ำท่วม มีห้องประชุมใหญ่สำหรับสัตบุรุษ และห้องซาคริสเตีย ด้านข้างมีบ้านพักพระสงฆ์ขนาดย่อมสำหรับเจ้าอาวาสที่จะมาพัก

เพราะคริสตังเหล่านี้หวังว่า สักวันหนึ่งเขาจะมีพระสงฆ์ชาวโปรตุเกสมาปกครอง วัดนี้ชื่อมีว่าวัดกาลหว่าร์ ตามชื่อรูปพระตายหรือกาลหว่าร์ ซึ่งพวกเขานำมาจากอยุธยา คริสตังชาวโปรตุเกสเหล่านี้ขอให้พระอัครสังฆราชแห่งเมืองกัว ส่งพระสงฆ์โปรตุเกสมาปกครองพวกตน แต่ทางเมืองกัวไม่ยอมส่งโดยมีเหตุผลว่า พวกเขามีผู้ปกครองอยู่แล้ว คือพระสังฆราชชาวฝรั่งเศส ซึ่งพระสันตะปาปาทรงแต่งตั้ง ดังนั้น คริสตังโปรตุเกสจึงค่อยๆ กลับใจยอมรับอำนาจการปกครองของมิชชันนารีฝรั่งเศสในที่สุด เพราะจนถึงเวลานั้นที่วัดกาลหว่าร์ยังไม่มีพระสงฆ์องค์ใดมาทำมิสซาโปรดศีลได้

ปี 1820 พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานที่ดินเพื่อตั้งสถานกงสุลโปรตุเกส ต่อมาภายหลังสถานกงสุลนี้ได้รับฐานะเป็นสถานทูต ท่านกงสุลขอให้พระเจ้าอยู่หัวประกาศว่าที่ดินค่ายแม่พระลูกประคำ เป็นที่ดินพระราชทานแก่ประเทศโปรตุเกส พระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 2) จึงทรงมีพระบรมราชโองการตอบว่าที่ดินผืนนี้ มิได้พระราชทานให้รัฐบาลโปรตุเกส แต่ให้คริสตังโปรตุเกสสร้างวัดได้ และดังนั้นที่ดินนี้จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของมิสซังโรมันคาทอลิก ไม่ว่าใคร ชาติใด ที่เป็นประมุขของมิสซัง พระสังฆราชฟลอรังส์จึงเข้าปกครองวัดกาลหว่าร์และทำมิสซาอย่างสง่าเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม1822เพื่อเป็นการเทิดเกียรติแด่พระนางมารีอา

ชาวโปรตุเกสที่อาศัยอยู่บนที่ดินผืนนี้ค่อยๆอพยพโยกย้ายไปทำมาหากินในที่ต่างๆ จึงมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ และมีชาวจีนเข้ามาอยู่อาศัยแทน นานๆครั้งจึงจะมีส่งพระสงฆ์ไทยมาทำมิสซา และโปรดศีลให้

ปี 1837 คุณพ่ออัลบรังด์มาอยู่ที่วัดกาลหว่าร์ เพราะสะดวกสำหรับการติดต่อแพร่ธรรมในหมู่ชาวจีน ท่านได้สร้างห้องโถงใหญ่ ด้วยไม้ไผ่ มุงแฝกสำหรับ ใช้เป็นสถานที่แพร่ธรรมให้แก่คริสตังใหม่และคริสตังชาวจีน เนื่องจากวัดเก่าที่ชาวโปรตุเกสสร้างเมื่อปี 1887 นั้นผุพังไปเกือบหมดแล้วพระสังฆราชกูรเวอซีจึงสั่ง ให้รื้อและสร้างใหม่ เป็นวัดครึ่งอิฐครึ่งไม้ ทำพิธีเสกในวันที่ 1 ตุลาคม 1839 โดยพระคุณเจ้าปัลเลอกัว ซึ่งเป็นพระสังฆราชผู้ช่วย และตั้งชื่อวัดว่า วัดแม่พระลูกประคำ แต่ชาวจีนยังคงเรียกว่า วัดกาลหว่าร์ มาจนถึงปัจจุบันนี้

ในสมัยคุณพ่อดือปองด์เป็นเจ้าอาวาส(1846-1864) ในปี1858เพื่อเป็นการลบล้างการทุรจารวัดกาลหว่าร์ซึ่งเกิดจากการมาจุดประทัดในวัดพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานที่ดินอีกแปลงหนึ่งให้ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 1864 ได้เกิดเพลิงไหม้ที่วัดกาลหว่าร์ ทำลายบ้านพักพระสงฆ์ และหลักฐานทุกอย่างของวัดกาลหว่าร์รวมทั้งหลักฐานและบัญชีศีลศักดิ์สิทธ์ของวัดทุกวัดที่เปิดตั้งแต่สมัยคุณพ่ออัลบรังด์ ในปี 1890 คุณพ่อแดซาลส์ เจ้าอาวาส ได้รื้อวัดกาลหว่าร์ซึ่งมีอายุ 50 กว่าปีแล้ว และ ทำการสร้างใหม่ ซึ่งก็คือหลังปัจจุบัน เสกศิลาฤกษ์วันที่ 4 ตุลาคม 1891 โดยพระสังฆราชเวย์ และเสกวัดใหม่ในปี 1897 ในสมัยคุณพ่อเปอตีต์เป็นเจ้าอาวาส วัดหลังนี้ได้มีโอกาสใช้เป็นสถานที่สำหรับทำพิธีอภิเษกคุณพ่อแปร์รอสเป็นพระสังฆราช เมื่อวันที่ 30 มกราคม 1910 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงแต่งตั้งผู้แทน มาร่วมพิธีด้วย ในสมัยคุณพ่อกิยูเป็นเจ้าอาวาสได้จัดฉลองครบรอบ 25 ปีในวันที่ 1 ตุลาคม 1922 จัดฉลองครบรอบ 50 ปีในวันที่ 5 ตุลาคม 1947 ในสมัยคุณพ่อ โอลลิเอร์เป็นเจ้าอาวาส ในสมัยคุณพ่ออาแมสตอยเป็นเจ้าอาวาสได้ทำการบูรณะซ่อมแซมวัด ทาสีทั้งภายนอกและภายในวัดให้ดูสวยงามและสง่าขึ้น และได้จัดฉลองครบรอบ 60 ปีของวัดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 1957 คุณพ่อฮั่วเซี้ยง กิจบุญชู (อนาคตพระอัครสังฆราชแห่งกรุงเทพฯ และพระคาร์ดินัล) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส องค์ที่ 13 ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 1965 ถึงเดือนสิงหาคม 1965 นับเป็นเจ้าอาวาสซึ่งเป็นพระสงฆ์คนไทยองค์แรกของวัดกาลหว่าร์ และนับจากนั้นเป็นต้นมา เจ้าอาวาสทุกองค์ของวัดกาลหว่าร์ก็ได้ถูกมอบหมายให้ดับพระสงฆ์ไทย นับเป็นความภาคภูมิใจประการหนึ่งของวัดนี้

เหตุการณ์ที่น่าสนอีกประการหนึ่งเกิดขึ้นในสมัยที่

คุณพ่อประวิทย์ พงษ์วิรัชไชย (1983-1989 ) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส คุณพ่อได้บูรณะซ่อมแซมและปรับปรุงสภาพของตัววัดซึ่งกำลังทรุดโทรมมาก ให้มีความสวยงามขึ้น โดยพยายามรักษารูปแบบตลอดจนลวดลายของเดิมไว้ให้มากที่สุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน 1987 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานรางวัลประกาศนียบัตรอาคารอนุรักษ์ดีเด่นให้แก่คุณพ่อประวิทย์ พงษ์วิรัชไชย ซึ่งเข้ารับพระราชทานรางวัลในฐานะเจ้าอาวาส นับว่าเป็นความภูมิใจไม่เฉพาะของวัดและสัตบุรุษวัดกาลหว่าร์เท่านั้นแต่ยังเป็นความภูมิใจของพระศาสนจักรในประเทศไทย ที่มีส่วนในการอนุรักษ์ศิลปะที่มีคุณค่าต่อประเทศเทศชาติด้วย

คุณพ่ออนันต์ เอี่ยมมโน(1989 –1994) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดกาลหว่าร์ก็กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยให้แก่สัตบุรุษใหม่ ซึ่ง โครงการนี้พระคาร์ดินัลมีชัย กิจบุญชู ได้ให้บริษัทสันติพิทักษ์เข้ามาช่วยเหลือในการดำเนินงานด้วย

คุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม (1995-1999) เป็นเจ้าอาวาส และทำการบูรณะซ่อมแซมอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระจกสีที่ถือว่ามีความสวยงามที่สุด แห่งหนึ่ง กระจกสีที่ถือว่ามีความสวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง และในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ 1997 มีการจัดฉลองครบรอบ 100 ปี ของวัดหลังปัจจุบันด้วย

คุณพ่อศุภกิจ เลิศจิตรเลขา (พฤษภาคม 1999 – 2004 ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

คุณพ่อสุรสิทธิ์ ชุ่มศรีพันธุ์ ( 10 พฤษภาคม 2004 - ปัจจุบัน )ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
คุณพ่อมาร์แซล เปแรย์
คุณพ่อธนากร เลาหบุตร

ตารางเวลาพิธีกรรม

พิธีกรรม

วัน/เดือน

เวลา

ภาษา

หมายเหตุ

มิสซาเช้า (วันธรรมดา)

จันทร์ - เสาร์

 06.00 น.

 ไทย

 

มิสซาเย็น (วันธรรมดา)

จันทร์- เสาร์

19.30 น.

ไทย

 

พิธีนพวาร (วันธรรมดา)

เสาร์

19.30 น.

ไทย

19.00 น. ชั่วโมงศักดิ์สิทธิ์ อวยพรศีลมหาสนิท

มิสซาศุกร์ต้นเดือน

 

19.30 น.

ไทย

 

พิธีแห่แม่พระ

 

06.15 น.

 

ฉลองวัดตุลาคม

มิสซาที่ 1 (วันอาทิตย์)

 

 

จีน

 

มิสซาที่ 2 (วันอาทิตย์)

 

08.00 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 3 (วันอาทิตย์)

 

10.00 น.

 จีน

 

มิสซาที่ 4 (วันอาทิตย์)

 

19.30 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 5 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

มิสซาที่ 6 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

การเดินรูป 14 ภาคในเทศกาล
มหาพรต

ศุกร์-อาทิตย์

ศ. 18.45 น., อ.19.00 น.

จีน/ไทย
 ศุกร์-จีน,

อาทิตย์-ไทย

วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์

 

19.30 น.

 ไทย

 

วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์

 

 8.00 –14.00 น.  เฝ้าศีล
14.00 น. เดินรูป 14 ภาค
18.45 น. เดินรูป 14 ภาค/จีน
19.30 น. พิธีแห่พระรูปพระศพ
พระเยซูเจ้า

 ไทย

 

วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์

 

19.30 น.

ไทย

 

มิสซาวันคริสตมาส (กลางคืน)

24 ธันวาคม

22.00 น., 24.00 น.

จีน/ไทย

 

มิสซาวันคริสตมาส (ตอนเช้า)

25 ธันวาคม

8.00 น., 17.50 น.

ไทย

 

มิสซาส่งท้ายปีเก่า

31 ธันวาคม

22.00 น.

 ไทย

 

มิสซาตอนรับปีใหม่

1 มกราคม

10.00 น.

ไทย

 

ฉลองวัด

 อาทิตย์แรก
ของเดือน
ตุลาคม

08.00/10.00 น.

จีน/ไทย

 08.00 น. จีน
10.00 น. ไทย

เสกสุสาน

 

 

 

 

การเดินทาง

ทางบก

 สาย

หมายเหตุ

รถโดยสารประจำทาง (สาย)

1,75,35,36,93

 

รถโดยสารปรับอากาศ (สาย)

ปอ.พ.3,ปอ.พ.6, ปอ.พ.16

 

 ทางน้ำ

 สาย

หมายเหตุ

เรือ (สาย)

ข้ามปากคลองสาน – สี่พระยา,เรือด่วน

 

แผนที่วัด

 
l Home l Articles l Music on Line l Web Board l Guest Book l Catholic Links l นักบุญทั้งหลาย l กุหลาบทิพย์ l Fordec l Contact Us l
@2005 S.S. Graphic Design
Free Web Hosting