S.Singsaneh

l Home l Articles l Music on Line l Web Board l Guest Book l Catholic Links l นักบุญทั้งหลาย l กุหลาบทิพย์ l Fordec l Contact Us l

การรู้จักพระวาจาของพระเจ้า คือ การรู้จักพระคริสตเจ้า.... ขอให้คริสตชนหยั่งรากลึกลงในความรัก และความรู้ด้านพระคัมภีร์ให้มากยิ่งขึ้น... ข้าพเจ้าอธิษฐานภาวนา ขอให้พระคริสตเจ้าทรงสัมผัสหูของท่าน เพื่อท่านจะสามารถรับฟังพระวาจาของพระองค์ และทรงสัมผัสปากของท่าน เพื่อท่านจะสามารถประกาศความเชื่อเรื่องของพระองค์ และถวายพระสิริแด่พระเจ้าพระบิดา" .... สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2...

วัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด (วัดบางสะแก)
21/1 วุฒากาศ 37 ถ.วุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150
โทร. 0-2468-1641, 0-2476-4913, 0-2875-3987 โทรสาร 0-2476-4913

 

วัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด บางสะแก

ในปี ค.ศ.1900 คุณพ่อแดซาลส์เจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์ ได้ไปบุกเบิกซื้อที่ดินที่บางสะแกซึ่งในเวลานั้น พื้นที่บริเวณนี้เป็นสวนผลไม้ ร่มรื่นและอุดมสมบูรณ์ ทางรถไฟสายมหาชัย-วงเวียนใหญ่ยังไม่ตัดผ่าน การคมนาคมที่สะดวกและใช้กันประจำคือทางแม่น้ำลำคลอง พาหนะคือเรือสองแจว ในปี 1901 ท่านได้สร้างโรงสวดแรกขึ้นที่นี่ในที่ดินของคริสตังผู้หนึ่งคือ คุณตาเคี้ยง โรงสวดสร้างด้วยไม้ไผ่ขัดแตะเรือนสูง หลังคามุงจาก (ปัจจุบันคือบริเวณด้านของหลังโรงเรียนแม่พระ)

เนื่องจากคุณพ่อแดซาลส์มีงานที่ต้องทำมากมาย นอกจากการดูแลวัดต่างๆ ที่เป็นสาขาของวัดกาลหว่าร์แล้ว ที่วัดกาลหว่าร์เองก็มีองค์กรการสงเคราะห์เด็ก มีการแปลคำสอน โปรดศีลล้างบาปให้คนชราในโรงพยาบาลจีน มีสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าสตรี โรงสอนคำสอนสำหรับสตรี ดังนั้นในปี 1903 ท่านยังไม่ทันจะจัดตั้งวัดบางสะแกให้มั่นคงถาวร ก็เกิดล้มป่วยต้องเดินทางกลับไปพักรักษาตัวที่ประเทศฝรั่งเศสบ้านเกิดเมืองนอน

ต่อมาในปี 1906 ท่านได้เดินทางกลับมาเมืองไทยพร้อมกับความมุ่งมั่นที่จะจัดทำโครงการต่างๆ ของท่านให้สำเร็จและรุดหน้าต่อไป โดยเฉพาะที่วัดบางสะแก แต่แล้วในปี 1907 ท่านต้องละทิ้งโครงการทั้งหมดที่ตั้งใจไว้ ละทิ้งวัดสุดที่รักของท่านอย่างกระทันหัน พร้อมกับคุณพ่อที่ขยันที่สุดอีก 3 องค์ คือ คุณพ่อริชารด์, คุณพ่อเปริกัล และคุณพ่อซัลม็อง อันเนื่องมาจากพินัยกรรมของคุณพ่อแก็นตริก ในเวลานั้นวัดบางสะแกอยู่ในสภาพที่น่าสมเพช นานๆทีจึงจะมีพ่อปลัดจากวัดกาลหว่าร์มาเยี่ยมสักครั้ง คริสตังที่นี่จะไปร่วมฟังมิสซาที่วัดกาลหว่าร์ก็ยากลำบาก มีเด็กๆหลายคนไม่ได้รับศีลล้างบาปและส่วนมากก็ไม่ได้เรียนคำสอน ตั้งแต่ปี 1919-1928 พระสังฆราชแปร์รอสเห็นว่าวัดกาลหว่าร์มีพระสงฆ์ไม่พอกับความต้องการของสัตบุรุษ จึงไม่สามารถส่งพ่อปลัดไปดูแลวัดบางสะแกได้ ดังนั้นพระคุณเจ้าจึงให้คุณพ่อฮุย เจ้าอาวาสวัดคอนเซปชัญ รับหน้าที่ไปดูแลวัดบางสะแกและวัดบางเชือกหนังด้วยเหตุการณ์เป็นเช่นนี้จนถึงปี 1942

วันที่ 8 มกราคม 1942 เครื่องบินบี 52 ของสัมพันธมิตรมาทิ้งระเบิดที่กรุงเทพฯเป็นครั้งแรกและกลับมาทิ้งอีกหลายครั้ง เป็นเหตุให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ ในกรุงเทพฯต้องอพยพหนีไปหาที่หลบภัยตามชนบทเป็นจำนวนมาก มีคริสตังหลายร้อยคนได้อพยพไปหลบภัยที่บางสะแก ในปีนั้นเอง คุณพ่อโอลลิเอร์ เจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์และเป็นผู้ดูแลวัดบางสะแกด้วย ได้สร้างวัดใหม่แทนโรงสวดเดิมของคุณพ่อแดซาลส์ซึ่งเล็กเกินไปและชำรุดมากแล้ว โดยย้ายจากที่เดิมมาสร้างในที่ดิน ของวัด วัดหลังที่สองนี้เป็นเรือนไม้เตี้ยๆหลังคามุงสังกะสีอีกครึ่งหนึ่งมุงด้วยใบจาก เนื่องจากงบประมาณมีไม่พอและในสมัยนั้นวัสดุก่อสร้างต่างๆมีราคาแพง เพราะอยู่ในภาวะสงครามจึงไม่สามารถสร้างให้สวยงามกว่านี้ได้ เมื่อสร้างวัดเสร็จท่านได้ส่งพ่อปลัดมาดูแลและทำมิสซาทุกวันอาทิตย์ เมื่อสงครามสงบลงแล้วในปี 1945 คริสตังวัดกาลหว่าร์ก็อพยพกลับกรุงเทพฯ ทำให้วัดบางสะแกเงียบเหงาและน่าสมเพชอย่างเดิม เนื่องจากมีพ่อปลัดจากวัดกาลหว่าร์มาทำมิสซาให้เดือนละครั้ง คริสตังที่นี่จึงไม่ค่อยมีโอกาสได้เรียนคำสอน คุณพ่อราแปง ปลัดวัดกาลหว่าร์ที่มาดูแลบางสะแกในระหว่างปี 1956-1958 ท่านรู้สึกรักและสงสารคริสตังที่บางสะแก คิดถึงคริสตังที่ไม่มีโอกาสได้เรียนคำสอน คิดถึงเด็กๆที่ยังไม่ได้รับศีลล้างบาป ท่านจึงตั้งใจและขอแม่พระเมืองลูร์ดช่วยบันดาลให้ท่านได้มีโอกาสมาอยู่ที่บางสะแก ต่อมาในปี 1958 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์ต่อจากคุณพ่ออาแมสตอย ท่านยังคิดถึงความตั้งใจเดิมของท่านในการที่จะเป็นเจ้าอาวาสวัด บางสะแกให้ได้ ในปี 1962 คุณพ่อราแปงเริ่มสร้างบ้านพักพระสงฆ์ใหม่แทนหลังเดิมที่คุณพ่อโอลลิเอร์สร้างไว้ ในเดือนธันวาคม ได้เปิดบัญชีศีลล้างบาปของวัดบางสะแกโดยไม่ต้องใช้บัญชีของวัดกาลหว่าร์อีกต่อไป และส่วนใหญ่ท่านก็มาอยู่วัดบางสะแกมากกว่าวัดกาลหว่าร์ ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ในปีนี้เองคุณพ่อราแปง ได้เริ่มสร้างวัดใหม่ (หลังปัจจุบัน) สร้างเสร็จในปี 1963ทำพิธีเสกในวันที่ 8 มกราคม 1964 โดยพระสังฆราชหลุยส์ โชแรง และตั้งชื่อวัดนี้ว่า "วัดแม่พระประจักษ์ เมืองลูร์ด" ในเวลานั้นวัดนี้มีคริสตังประมาณ 150 คน

ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 1965 คุณพ่อราแปงได้พ้นจากการเป็นเจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์ และในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1965 เป็นวันฉลองวัด พระคุณเจ้าหลุยส์ โชแรง ได้ประกาศให้วัดบางสะแกไม่ต้องขึ้นกับวัดใดอีกต่อไป พร้อมกับแต่งตั้งคุณพ่อราแปงเป็นเจ้าอาวาสวัดบางสะแกองค์แรก

โรงเรียนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหมู่บ้าน เด็กๆจะได้รับการอบรม การศึกษาและเรียนคำสอนและเพื่อดึงดูดคริสตังให้เข้ามาอยู่ในหมู่บ้าน ดังนั้นในปี 1965 คุณพ่อราแปงได้จัดแบ่งที่ของวัดออกเป็นล็อกๆให้คริสตังมาเช่าปลูกบ้าน ในวันที่28 เมษายน1965 ท่านได้สร้างโรงเรียนและเปิดทำการสอนโดยใช้ชื่อว่า"โรงเรียน แม่พระประจักษ์" ท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่จนถึงปี 1970 จึงย้ายไปทำงานแพร่ธรรมในมิสซังนครสวรรค์

ในปี 1970 คุณพ่อฟอร์แตง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสองค์ ท่านได้บูรณะวัดและโรงเรียนพร้อมกับขยายโรงเรียนให้เจริญขึ้นโดยก่อสร้างอาคารเรียน เพิ่มเติม ท่านแวัดนี้จนถึงปี 1976 ก็ย้ายไปเป็นปลัดวัดแม่พระฟาติมา ดินแดง

คุณพ่อสุเทพ พงษ์วิรัชไชย(1976-1979) มาเป็นเจ้าอาวาสในปี 1976 ได้จัดตั้งกลุ่มเยาวชน และสภาอภิบาลเพื่อให้สัตบุรุษได้มีส่วนในการรับผิดชอบดูแลวัด และช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของพระสงฆ์ในการแพร่ธรรมท่านปกครองดูแลวัดบางสะแกจนถึงปี 1979 ก็ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบางเชือกหนัง คุณพ่อพิบูลย์ วิสิฐนนทชัย (1979-1983)เป็นเจ้าอาวาสองค์ แล้วย้ายไปเป็นอธิการบ้านบ้านเณรยอแซฟ สามพราน

คุณพ่อไพฑูรย์ หอมจินดา (1983-1988 )เป็นเจ้าอาวาส

คุณพ่อธวัช พันธุมจินดา (1988-1991)เป็นเจ้าอาวาส

คุณพ่อสมพร เส็งเจริญ (1991-1994)เป็นเจ้าอาวาส และได้ริเริ่มสำรวจโรงเรียนของวัดเพื่อดำเนินการปรับปรุงและเตรียมจัดสร้างอาคารเรียนใหม่ต่อไป

คุณพ่อบัณฑิต ประจงกิจ (1994-1998) เป็นเจ้าอาวาส

คุณพ่อศักดิ์ชัย ทรัพย์อัปประไมย(1999-2000) เป็นเจ้าอาวาส

คุณพ่อศุภศิลป์ สุขสุศิลป์ (พฤษภาคม 1999 – 2004 ) เป็นเจ้าอาวาส

คุณพ่อศุภกิจ เลิศจิตรเลขา ( 10 พฤษภาคม 2004 - ปัจจุบัน ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
คุณพ่อประทีป สุทธินาวิน

 

ตารางเวลาพิธีกรรม

พิธีกรรม

วัน/เดือน

เวลา

ภาษา

หมายเหตุ

มิสซาเช้า (วันธรรมดา)

พุธ

06.30 น.

ไทย

 

มิสซาเย็น (วันธรรมดา)

จันทร์-ศุกร์

19.15 น.

ไทย

 

พิธีนพวาร (วันธรรมดา)

เสาร์

19.15 น.

ไทย

 

มิสซาศุกร์ต้นเดือนทุกเดือน

 

19.15 น.

ไทย

 

พิธีแห่แม่พระ

เสาร์ต้นเดือน

19.15 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 1 (วันอาทิตย์)

 

07.15 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 2 (วันอาทิตย์)

 

19.15น.

ไทย

 

มิสซาที่ 3 (วันอาทิตย์)

 

19.15 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 4 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

มิสซาที่ 5 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

มิสซาที่ 6 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

การเดินรูป 14 ภาคในเทศกาลมหาพรต

ศุกร์-อาทิตย์

 

ไทย/จีน

วันอาทิตย์หลังมิสซาสาย,หลังมิสซาค่ำ

วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์

 

19.15 น.

ไทย

 

วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์

 

19.15 น.

ไทย

 

วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์

 

19.15 น.

ไทย

 

มิสซาวันคริสตมาส (กลางคืน)

24 ธันวาคม

23.00 น.

ไทย

 

มิสซาวันคริสตมาส (ตอนเช้า)

25 ธันวาคม

09.15 น.

ไทย

 

มิสซาส่งท้ายปีเก่า

31 ธันวาคม

19.15 น.

ไทย

 

มิสซาตอนรับปีใหม่

1 มกราคม

09.15 น.

ไทย

 

ฉลองวัด

 

10.30 น.

ไทย

วันอาทิตย์ก่อน 12 ก.พ.

เสกสุสาน

อาทิตย์แรกต้น
เดือน พ.ย.

09.15 น.

ไทย

 หลังมิสซาสาย

การเดินทาง

ทางบก

 สาย

หมายเหตุ

  รถโดยสารประจำทาง (สาย)

 

 

  รถโดยสารปรับอากาศ (สาย)

 

 

 ทางน้ำ

 สาย

หมายเหตุ

  เรือ (สาย)

 

 

 

l Home l Articles l Music on Line l Web Board l Guest Book l Catholic Links l นักบุญทั้งหลาย l กุหลาบทิพย์ l Fordec l Contact Us l
@2005 S.S. Graphic Design
Free Web Hosting