S.Singsaneh

l Home l Articles l Music on Line l Web Board l Guest Book l Catholic Links l นักบุญทั้งหลาย l กุหลาบทิพย์ l Fordec l Contact Us l

การรู้จักพระวาจาของพระเจ้า คือ การรู้จักพระคริสตเจ้า.... ขอให้คริสตชนหยั่งรากลึกลงในความรัก และความรู้ด้านพระคัมภีร์ให้มากยิ่งขึ้น... ข้าพเจ้าอธิษฐานภาวนา ขอให้พระคริสตเจ้าทรงสัมผัสหูของท่าน เพื่อท่านจะสามารถรับฟังพระวาจาของพระองค์ และทรงสัมผัสปากของท่าน เพื่อท่านจะสามารถประกาศความเชื่อเรื่องของพระองค์ และถวายพระสิริแด่พระเจ้าพระบิดา" .... สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2...

วัดนักบุญอันนา (วัดท่าจีน)
79 ม.4 ต.บางหญ้าแพรก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000
โทร. 0-3481-9216-17, 0-3481-8708-09 (บ้านซิสเตอร์), โทรสาร 0-3481-9218

 

วัดนักบุญอันนา ท่าจีน

พระสังฆราชกูร์เวอซีได้ขอให้คุณพ่ออัลบรังด์ แพร่ธรรมในหมู่ชาวจีนตั้งแต่ปี 1835 คุณพ่อได้ประจำที่วัดกาลหว่าร์ ซึ่งมีคนจีน อาศัยอยู่มาก ต่อมาวัดนี้จึงกลายเป็นวัดของคนจีนไป คุณพ่อทำงานแพร่ธรรมทั้งในพระนครและต่างจังหวัด ในต่างจังหวัดคุณพ่อจะเดินทางไปตามแม่น้ำลำคลองซึ่งมีพวกคนจีนอาศัยอยู่และชักชวนให้พวกเขาเข้าถือศาสนาคริสตัง สอนคำสอนให้และไปเยี่ยมเยือนเขาอย่างสม่ำเสมอ คริสตังหมู่แรกที่บางช้างและบริเวณดอนกระเบื้องแม่กลองนครชัยศรี ท่าจีน ปากน้ำ ปากลัด ฯลฯ ก็เกิดขึ้นเพราะคุณพ่ออัลบรังด์ และมิชชันนารีเคลื่อนที่

ที่ท่าจีนจะมีคุณพ่อจากวัดกาลหว่าร์บ้าง จากวัดนครชัยศรีบ้าง มาเยี่ยมเยือนและแปลคำสอนให้อยู่เสมอๆ ต่อมาในปี 1949 มีสาเหตุหนึ่งที่ทำให้บรรดา มิชชันนารีต้องถูกเนรเทศออกจากประเทศสยาม พระสังฆราชปัลเลอกัวเกรงว่าคนที่กำลังเรียนคำสอน หรือเป็นคริสตังใหม่จะหมดกำลังใจ

เนื่องจากขาดมิชชันนารี จึงให้พวกเขาย้ายไปอยู่นครชัยศรีซึ่งมีคริสตังมากกว่า ปี 1951 เมื่อคุณพ่อดือปองด์และเพื่อนมิชชันนารีกลับมาแล้ว บรรดามิชชันนารีเคลื่อนที่ก็เริ่มทำงานเผยแพร่พระวรสารอีกครั้งหนึ่ง ในเวลานั้นจำนวนคริสตังที่ท่าจีนได้เพิ่มขึ้นมากพอสมควร

ปี 1822 คุณพ่อปิโอ ปลัดที่บางช้าง รับเป็นผู้ดูแลคริสตังที่ท่าจีน คุณพ่อเห็นว่าคริสตังที่นี่มีความศรัทธาและมีจำนวนมากพอสมควร จึงคิดจะสร้างวัดขึ้น ปี 1886 คุณพ่อได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งและเริ่มลงมือก่อสร้างวัดหลังแรก สร้างเสร็จในปี 1888 ถวายเป็นเกียรติแด่ท่านนักบุญอันนา ปี 1889 พระสังฆราชเวย์ ได้ย้ายคุณพ่อปิโอไปเป็นเจ้าอาวาสวัดซางตาครู้ส และให้วัดท่าจีนขึ้นกับวัดซางตาครู้ส ให้พระสงฆ์เจ้าอาวาสวัดซางตาครู้สเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบวัดท่าจีนด้วย คุณพ่อ ปิโอ และคุณพ่ออัมบรอซิโอ (แก้ว) ซึ่งเป็นปลัดได้ผลัดเปลี่ยนกันมาดูแลคริสตังที่วัดท่าจีน

จนถึงปี 1890 คุณพ่อปิโอได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดนครชัยศรี วัดท่าจีนจึงย้ายไปขึ้นกับวัดนครชัยศรี ในเวลาเดียวกันคุณพ่อปิโอก็ยังคงเป็น เจ้าอาวาสวัดซางตาครู้สอยู่ การที่คุณพ่อต้องดูแลถึง 3 วัด รวมทั้งการเดินทางที่ยากลำบาก ทำให้สุขภาพของท่านทรุดโทรม คุณพ่อจึงเดินทางกลับไปรักษาตัวที่ ประเทศฝรั่งเศสในปี 1893

เนื่องจากยังไม่สามารถจัดหาพระสงฆ์มาประจำที่วัดท่าจีนได้ พระสังฆราชเวย์จึงมอบหมายให้คุณพ่อจากวัดนครชัยศรี และจากวัดในกรุงเทพฯ มาเยี่ยมเยือนคริสตังที่ท่าจีนเป็นครั้งคราว ในปี 1895 คุณพ่อกิยู เจ้าอาวาสวัดนครชัยศรีได้ส่งปลัดของท่านคือ คุณพ่อแปร์รอส มาดูแลวัดท่าจีน ในปีนี้เองคุณพ่อ แปร์รอสได้เป็นผู้เปิดบัญชีศีลล้างบาปของวัดท่าจีนขึ้นเป็นครั้งแรก

ปี 1896 คุณพ่อปิโอกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนครชัยศรีอีกครั้งหนึ่ง คุณพ่อได้มาดูแลวัดท่าจีนด้วยตัวเองเป็นส่วนมาก และส่งพ่อปลัดมาแทนในบางครั้ง จน ถึงปี 1899 คุณพ่อเกิดล้มป่วยลงต้องเดินทางกลับประเทศฝรั่งเศสและมรณภาพในปีต่อมา ปี 1900-1904 คุณพ่อเออเย็น เล็ตแชร์, คุณพ่อท็อกแกลร์ และคุณพ่อ แกรมฟ์ จากวัดนครชัยศรีได้ผลัดกันมาดูแลวัดท่าจีน

ปี 1904 เมื่อรัฐบาลเปิดรถไฟสายกรุงเทพฯ-มหาชัย ดังนั้นเพื่อความสำดวกในการเดินทางพระสังฆราชเวย์จึงมอบหมายให้พระสงฆ์วัดกาลหว่าร์รับหน้าที่ มาดูแลวัดท่าจีนจนถึงปี 1910 ตลอดเวลา 6 ปีได้มีคุณพ่อแฟร์เลย์, คุณพ่อแบลามี, คุณพ่อริชารด์, คุณพ่อแอสเตวัง และคุณพ่อแปร์รัว ผลัดเปลี่ยนกันมาอยู่เสมอๆ

ปี 1910 พระสังฆราชแปร์รอสได้แต่งตั้งคุณพ่อริชารด์เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าจีน นับเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดท่าจีน ท่านอยู่ได้เพียง 4 เดือนก็ต้องย้ายไป ดูแลวัดดอนกระเบื้อง คุณพ่อชันลิแอร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าจีนเป็นองค์ต่อมาในปี 1910 โดยมีคุณพ่อมาร์แซล พระสงฆ์ไทยเพิ่งบวชใหม่เป็นผู้ช่วยจนถึงปี 1911 คุณพ่อชันลิแอร์ต้องย้ายไปดูแลวัดปากน้ำ คุณพ่อมาร์แซล ซึ่งเป็นปลัดจึงรักษาการณ์แทนในตำแหน่งเจ้าอาวาส

ปี 1913 พระสังฆราชแปร์รอสได้ให้วัดท่าจีนขึ้นกับวัดซางตาครู้สอีกครั้งหนึ่ง โดยมีคุณพ่อกูเลียลโม กิ๊น ดาครู้ส เจ้าอาวาสวัดซางตาครู้สเป็นผู้ปกครองดูแล เนื่องจากคุณพ่อไม่มีปลัดจึงต้องมาเยี่ยมเยือนคริสตังที่วัดท่าจีนด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ มาถวายมิสซา สอนคำสอน นอกจากนี้คุณพ่อยังได้มอบรูป 14 ภาค ของวัดซางตาครู้สให้แก่วัดท่าจีนอีกด้วย คุณพ่อดูแลวัดท่าจีนจนถึงปี 1932

ปี 1933 วัดท่าจีนกลับไปขึ้นกับวัดกาลหว่าร์อีกครั้งหนึ่ง คุณพ่อเจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์ได้ส่งปลัดของท่านมาดูแลวัดท่าจีนจนถึงปี 1947

ปี 1947 พระสังฆราชแปร์รอสได้แต่งตั้งคุณพ่อเทโอฟิล เซ่งฮง กิจบุญชู เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าจีนและพักประจำอยู่ที่วัด ตลอดระยะเวลา 60 ปี นับตั้งแต่มี การสร้างวัดมา วัดและอาคารต่างๆของวัดได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปมาก คุณพ่อเทโอฟิลต้องซ่อมแซมอาคารต่างๆ เริ่มตั้งแต่ปรับปรุงและขยายต่อเติมอาคารโรงเรียนอันนาลัย ซึ่งได้ปิดทำการสอนชั่วคราวเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง สำหรับบ้านพักซิสเตอร์ และบ้านพักพระสงฆ์หลังแรกซึ่งเก่าและถูกคลื่นเซาะ เนื่องจากปลูกอยู่กลางน้ำ ต้องรื้อและสร้างใหม่เป็นอาคารไม้สองชั้น นอกจากนี้ยังได้ขยายมุขทั้งสองข้างของตัววัดและต่อส่วนพระแท่นให้กว้างออกไป เพื่อจะได้สามารถจุคน ได้เพิ่มขึ้น ทุกอย่างสำเร็จลงได้ด้วยดี โดยอาศัยความพร้อมเพรียง และความสามัคคีของสัตบุรุษ เฒ่านั้ง และคณะกรรมการวัด โดยมีคุณพ่อเทโอฟิลเป็นผู้นำ

ปี 1951 คุณพ่อคุณพ่อได้ติดต่อขอซิสเตอร์คณะพระหฤทัยแห่งกรุงเทพฯ มาช่วยงานของวัดและโรงเรียน คุณพ่อเทโอฟิลปกครองดูแลวัดท่าจีนนานถึง 22 ปี ตลอดเวลาที่คุณพ่ออยู่ที่นี่ ท่านเข้มงวดกวดขันในเรื่องการเรียนคำสอนอย่างจริงจัง ดูแลเอาใจใส่สัตบุรุษทั้งทางด้านวัตถุและด้านวิญญาณ ปี 1969 คุณพ่อ ได้ลาพักเกษียณที่บ้านเณรยอแซฟ สามพราน

ในระหว่างปี 1969-1980 พระอัครสังฆราชยวง นิตโย ได้มอบหมายให้คุณพ่อจากสามเณราลัยนักบุญยอแซฟ มาช่วยดูแลวัดท่าจีนแทนคุณพ่อเทโอฟิลซึ่งชรามากแล้วและได้ขอลาพัก

วันที่ 3 พฤษภาคม 1982 คุณพ่อวรยุทธ กิจบำรุง (1982-1986)ได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาสและประจำอยู่ที่ท่าจีน เพื่อดูแลกิจการงานของวัด และ โรงเรียน พระคาร์ดินัลมีชัย กิจบุญชู ได้อนุมัติโครงการก่อสร้างอย่างต่อเนื่องที่ท่าจีน ได้ทำพิธีเสกและเปิดใช้อาคารเรียนสามชั้นที่ก่อสร้างเสร็จใน

ปี 1982 และใช้อาคารเรียนในส่วนที่ต่อใหม่เป็นวัดชั่วคราว นอกจากนี้ยังถมที่บริเวณอาคารเรียน ทำเขื่อนกันดินพังแทนเขื่อนเก่า ปี 1983 ได้รื้อวัดไม้หลังเก่าซึ่งทรุดโทรมมากแล้วและมีอายุถึง 95 ปี ปรับปรุงพื้นที่บริเวณวัดเก่าเพื่อเตรียมสร้างหอพักสำหรับนักเรียนและบ้านพักคนงาน นอกจากนี้ยังได้สร้างศาลาเอนกประสงค์ และโรงอาหารใหม่ ซึ่งได้ทำการเสกและเปิดใช้ในโอกาสฉลองวัดวันที่ 31 กรกฎาคม 1983 และในวันนี้เองก็ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์วัดนักบุญอันนาหลังใหม่ โดยพระคาร์ดินัลมีชัย กิจบุญชู เป็นประธานการก่อสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักซิสเตอร์ บ้านพักพระสงฆ์ วัด หอระฆัง ฯลฯ เสร็จในราวปี 1984 และในวันที่ 11 พฤศจิกายน 1984 พระคาร์ดินัลได้มาทำพิธีเสกวัดนักบุญอันนา ท่าจีน อย่างสง่า คุณพ่อได้เอาใจใส่งานด้านการอภิบาลเป็นอย่างดี ส่งเสริมกิจกรรมต่างๆของวัด ฟื้นฟูคณะเยาวชนให้เข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือวัดมากขึ้น ปรับปรุงและเอาใจใส่ทางด้านการบริหารงานโรงเรียนจนมีประสิทธิภาพมากขึ้น คุณพ่อวรยุทธ ปกครองดูแลวัดท่าจีนจนถึงปี 1986 จึงย้ายไปเป็นผู้จัดการโรงพิมพ์อัสสัมชัญ

ปี 1986 วัดท่าจีนได้ต้อนรับเจ้าอาวาสองค์ใหม่คือ

คุณพ่อพจนารถ นิรมลทินวงศ์ (1986-1989)คุณพ่อได้จัดสร้างอนุสาวรีย์นักบุญอันนาไว้บริเวณหน้าวัด เพื่อให้สัตบุรุษวัดท่าจีนและผู้ที่ศรัทธาได้มาสวด ขอพรจากท่านนักบุญอันนา

คุณพ่อสมโภชน์ พูลโภคผล (1989-1993)ได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาสในปี 1989

คุณพ่อประยุทธ ชลหาญ (พฤษภาคม 1993-1998) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส แต่เนื่องจากคุณพ่อยังศึกษาอยู่ที่กรุงโรม ทางอัครสังฆมณฑลจึงได้แต่งตั้ง คุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ ให้มาปฏิบัติงานแทนคุณพ่อเจ้าอาวาสไปก่อนจนถึงวันฉลองวัดในปี ค.ศ.1993 คุณพ่อประยุทธจึงได้เข้าประจำหน้าที่

กลางปี ค.ศ.1997 ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้อนุมัติให้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่อีกหลังหนึ่งเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยลงมือตอกเสาเข็มตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ.1997 และเริ่มลงมือก่อนสร้างในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ.1997 เป็นอาคารคอนกรึตเสริมเหล็ก 4 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นดาดฟ้า มีห้งอเรียนจำนวน 28 ห้องเรียน ชั้นหนึ่งชั้นสองใช้เป็นห้องเรียนอนุบาล ส่วนชั้นสามและสี่ใช้เป็นห้องเรียนระดับประถม การก่อสร้างเสร็จสิ้นและเริ่มใช้ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม 1998 ในระหว่างปิดภาคเรียนปีการศึกษานี้เองก็ได้ทำการปรับปรุงอาคารเรียนหลังเก่าให้เป็นห้องประกอบการเรียนต่างๆ ในเวลาเดียวกันก็ได้ทำการรื้ออาคารไม้ที่อยู่ใน บริเวณใกล้เคียงกับอาคารเรียนใหม่เพื่อปรับปรุงให้ดูสวยงาม เรียบร้อยมากขึ้น รวมทั้งได้ปรับปรุงโรงอาหารของโรงเรียนในส่วนที่ประกอบอาหารและขายของให้ดูสะอาดเรียบร้อยมากขึ้น และได้ทาสีโครงเหล็กและกระเบื้องหลังคาโรงอาหารด้วย นอกนั้นยังได้ปรับปรุงประตูทางเข้า และป้ายชื่อวัดและโรงเรียนใหม่เป็นแผ่นหินอ่อนแกะสลักชื่อวัดและโรงเรียนซึ่งเสร็จเรียบร้อยก่อนวันฉลองวัดในปีนี้

ในช่วงต้นปี 1998 ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ยังได้ให้ทางวัดจัดทำแนวคันหินต่อจากแนวเขื่อนเดิมจากหลังบ้านซิสเตอร์ไปสุดที่ดินของวัดทางด้าน ใต้เพื่อป้องกันน้ำเซาะตลิ่งพังไปมากกว่าเดิม ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ

คุณพ่อบุญเสริม เนื่องพลี(1999-2004 ) เป็นเจ้าอาวาส

คุณพ่อธีรพล กอบวิทยากุล ( 10 พฤษภาคม 2004 - ปัจจุบัน ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

ตารางเวลาพิธีกรรม

พิธีกรรม

วัน/เดือน

เวลา

ภาษา

หมายเหตุ

มิสซาเช้า (วันธรรมดา)

 

 

 

 

มิสซาเย็น (วันธรรมดา)

จันทร์-ศุกร์

19.00 น.

 ไทย

 

พิธีนพวาร (วันธรรมดา)

 เสาร์

19.00 น.

ไทย

ก่อนมิสซา

มิสซาศุกร์ต้นเดือน

 ศุกร์

19.00 น.

ไทย

 

พิธีแห่แม่พระ

เสาร์

19.00 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 1 (วันอาทิตย์)

 

09.00 น.

ไทย

 

มิสซาที่ 2 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

มิสซาที่ 3 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

มิสซาที่ 4 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

มิสซาที่ 5 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

มิสซาที่ 6 (วันอาทิตย์)

 

 

 

 

การเดินรูป 14 ภาคในเทศกาลมหาพรต

อาทิตย์

09.00 น.

ไทย

 ก่อนมิสซา

วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์

 

19.00 น.

ไทย

 

วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์

 

15.00 น.

ไทย

 

วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์

 

19.00 น.

ไทย

 

มิสซาวันคริสตมาส (กลางคืน)

24 ธันวาคม

22.00 น.

ไทย

 

มิสซาวันคริสตมาส (ตอนเช้า)

25 ธันวาคม

09.00 น.

 ไทย

 

มิสซาส่งท้ายปีเก่า

31 ธันวาคม

19.00 น.

ไทย

 

มิสซาตอนรับปีใหม่

1 มกราคม

09.00 น.

ไทย

 

ฉลองวัด

อาทิตย์

10.30 น.

 

หลังวันที่ 26 กรกฎาคม

เสกสุสาน

16.00 น.

 

ก่อนตรุษจีน 1 วัน

การเดินทาง

ทางบก

 สาย

หมายเหตุ

  รถโดยสารประจำทาง (สาย)

  บขส. 99, 976

 

  รถโดยสารปรับอากาศ (สาย)

  ปอ2. 976,99

 

 ทางน้ำ

 สาย

หมายเหตุ

  เรือ (สาย)

 

 

แผนที่วัด

l Home l Articles l Music on Line l Web Board l Guest Book l Catholic Links l นักบุญทั้งหลาย l กุหลาบทิพย์ l Fordec l Contact Us l
@2005 S.S. Graphic Design
Free Web Hosting